ตรวจสอบ 'เพชรแท้' ได้ด้วยตา ผ่านใบเซอร์

date blog icon

16 Sep 2022

date blog icon

-

ตรวจสอบ 'เพชรแท้' ได้ด้วยตา ผ่านใบเซอร์

รู้หรือไม่คะ? ว่าเพชรทุกเม็ดถึงจะมีความสวยงามและประกายที่เป็นเอกลักษณ์ในตัว แต่เพชรแต่ละเม็ดก็มีราคาที่แตกต่างกันไปตามคุณสมบัติที่มองเห็นและมองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า

“ใบเซอร์” (Diamond Certificate) จึงมีสำคัญในการจำแนกคุณภาพของเพชรแต่ละเม็ดด้วยการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านอัญมณีจากสถาบันอิสระที่เชื่อถือได้ และยังเป็นตัวการันตีว่าคุณจะได้เพชรแท้ที่ตรงตามคุณภาพมาที่คุณต้องการครอบครอง การเปรียบเทียบความคุ้มค่าก็ทำได้ง่ายกว่า และยังขายต่อได้สะดวกกว่าอีกด้วยนะ

เราจึงแนะนำลูกค้าเสมอว่าไม่ว่าคุณจะซื้อเพชรที่ไหน ในราคาใด ก็ขอให้ซื้อเพชรที่มีใบเซอร์รับรองคุณภาพเพชรมาด้วยทุกครั้ง

เราจึงอยากพาคุณไปทำความรู้จักกับข้อมูลแต่ละส่วนของใบเซอร์เพชรในแง่มุมต่างๆไปพร้อมๆกัน

ส่วนหัวของใบเซอร์จะบอกว่าสถาบันไหนเป็นผู้ให้การรับรอง โดยจะเห็นโลโก้ของสถาบันเป็นอันดับแรกไม่ว่าจะเป็นสถาบัน GIA, HRD, IGI หรือ AGS ในตัวอย่างก็จะเป็นสถาบัน GIA เพราะเป็นสถาบันที่รับการยอมรับอย่างกว้างขว้าง

หากคุณได้รับใบเซอร์ที่รับรองจากชื่อสถาบันที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน แถมยังขายเพชรในราคาถูกกว่าราคาตลาด ก็สามารถเดาได้เลยว่านี่อาจเป็นเอกสารปลอม

แต่ถ้าหากใบเซอร์ออกโดยนักอัญมณีของทางร้านเอง ก็ยังถือว่าเป็นเอกสารที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่น่าเชื่อถือ เพราะทางร้านจะปรับเปลี่ยนรายละเอียดเองอย่างไรก็ได้

เพชรที่มากับใบเซอร์ไม่ได้มาตรฐานเช่นนี้มักเป็นเพชรด้อยคุณภาพที่ไม่คุ้มราคาจะส่งไปตรวจสอบกับสถาบันที่มีชื่อเสียง เป็นเพชรที่ร้านเพชรอยากขายต่อในราคาถูกเพื่อโละสต๊อกให้หมดนั่นเอง

(Diamond Grading Report) จะเป็นข้อมูลเพื่อระบุเม็ดเพชร หรือเลข report number ที่ทาง GIA จะใช้อ้างอิงในฐานข้อมูลออนไลน์ถึงเพชรเม็ดนั้นๆ ทำให้ในกรณีที่คุณทำใบเซอร์หาย หรือต้องการใบเซอร์ทดแทน ก็สามารถตรวจสอบข้อมูลของเพชรเม็ดนั้นๆได้ทางออนไลน์ได้ที่ GIA ได้เลยค่ะ

บรรทัดถัดมาจะบอกรายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับเพชรเม็ดนั้นๆ ทั้งรูปทรง เช่น เพชรทรงกลม ทรงหยดน้ำ ทรงปริ้นเซส(สี่เหลี่ยม) เป็นต้น และขนาดของเพชรในระดับมิลลิเมตรพร้อมหน่วยทศนิยม

ในส่วน Grading Results จะเป็นส่วนสำคัญที่บ่งบอกคุณลักษณะของเพชรเม็ดนั้นๆ ตามหลัก 4Cs ซึ่งเป็นหลักสำคัญในเลือกซื้อเพชรจากคุณลักษณะ 4 ประการ นั่นก็คือ

  1. น้ำหนักกะรัต (Carat Weight)
    หน่วยของน้ำหนักเพชร ที่ยิ่งมีน้ำหนักมากกะรัตเท่าไหร่ ราคาก็จะสูงขึ้นเท่านั้น
  2. สี (Color)
    สีของเพชรที่ยิ่งขาวสะอาดก็จะยิ่งมีผลกับราคาเพชรเม็ดนั้นๆ ตามหลักสากลจะแบ่งเกรดออกได้ตามตัวอักษร D ถึง Z โดยเพชรระดับ D หรือ เพชรน้ำ 100% คือเพชรที่ความขาวที่สุด ส่วน E และ F color จะอยู่ในระดับที่ขาวที่สุดไม่มีสีเจือปน (Colorless) และจะอมเหลืองขึ้นเรื่อยๆตามลำดับตัวอักษรถัดๆไป
  3. ความสะอาด (Clarity)
    หมายถึงการดูว่าเพชรเม็ดนั้นๆมีสิ่งเจือปนภายใน (Inclusions) และตำหนิภายนอก (Blemishes) หรือเปล่า? สิ่งเจือปนภายในก็อย่างเช่นจุดหรือเศษสิ่งแปลกปลอมในภายเพชร ตำหนิภายนอกก็เช่นรอยขีดข่วนและรอยบิ่น ซึ่งจะตรวจสอบได้จากการส่องกล้องขยาย 10 เท่า ดังนั้น ยิ่งเพชรมีตำหนิน้อย ก็จะยิ่งได้ระดับความสะอาดสูงไปด้วย หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับตำหนิของเพชร สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ :ตำหนิของเพชรคืออะไร และ หน้าตาเป็นอย่างไร?
  4. การเจียระไน (Cut)
    เป็นส่วนสำคัญที่ส่งผลต่อประกายของเพชรโดยตรง โดยการเจียระไนเพชรต้องใช้ช่างที่มีทักษะสูง สามารถเจียระไนออกมาได้อย่างปราณีต ได้สัดส่วน และสมมาตร เพชรจึงจะสามารถส่องประกายได้อย่างเต็มที่

บนใบเซอร์เพชรจะบ่งบอกถึงคุณภาพการเจียระไนเพชรเป็น 3 ด้าน ในด้านแรกก็คือ “Cut” ที่บ่งบอกคุณภาพการเจียระไนโดยรวมดังที่กล่าวไป และอีก 2 ด้านจะอยู่ในส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมที่จะอธิบายต่อไป

ใบเซอร์ในส่วนนี้จะเจาะลึกไปที่รายละเอียดความปราณีตในด้านต่างๆของเพชรโดยเฉพาะคุณภาพการเจียระไน แบ่งได้เป็น 4 หัวข้อ

  • ระดับพื้นผิวขัดเงา (Polish)
  • ความสมมาตร (Symmetry)
  • สารเรืองแสงในเพชร (Fluorescence) หากมีมากเกินไปก็จะทำให้สีของเพชรดูหมอง แต่หากอยู่ในระดับเล็กน้อย มองไม่เห็นความหมองเมื่อมองด้วยตาเปล่า แถมยังอาจได้ราคาที่ดีกว่าด้วย
  • หมายเลขสลักบนเพชร (Inscription) โดยเพชรแต่เม็ดที่ผ่านการตรวจสอบจาก GIA จะมีใบเซอร์เป็นของตัวเอง โดยจะมีหมายเลขสลักเดียวกัน

 

ประกอบไปด้วย 2 แผนภาพ นั่นก็คือ

  1. แผนภาพระบุสิ่งเจือปนและตำหนิในเพชร (Clarity Characteristics)
    เป็นเหมือนการระบุตำแหน่งปานและไฝบนร่างกายคนที่เพชรทุกเม็ดจะมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกัน ในแผนภาพจะใช้สีเขียวเพื่อระบุตำหนิภายนอก (Blemishes) และใช้สีแดงเพื่อระบุสิ่งเจือปนภายใน (Inclusions) การรู้จักตำแหน่งของตำหนิเหล่านี้จะช่วยให้คุณสามารถเลือกเพชรที่ส่องประกายได้ดีกว่าและมีราคาที่คุ้มค่ากว่า
  2. แผนภาพระบุสัดส่วนเพชร (Proportions)
    เป็นแผนภาพที่ระบุสัดส่วนของเพชรในแต่ละด้านเป็นเปอร์เซ็นต์ ไม่ว่าจะเป็นหน้าตัดเพชร (Table), ความลึก (Depth), จุดองศาส่วนครึ่งบนของเพชร (Crown Angles), จุดองศาของฐานเพชร (Pavilion Angles) และความหนาของขอบเพชร (Girdle Thickness) หากสัดส่วนเพชรตื้นหรือลึกจนเกินไปแสงก็จะหักเหได้ไม่ดี ทำให้เพชรส่องประกายได้ไม่เต็มที่

อย่าลืมตรวจสอบหมายการปลอมแปลงที่ยืนยันว่าใบเซอร์ฉบับนี้เป็นของแท้ โดยมีจุดที่ต้องตรวจสอบ 3 จุด นั่นก็คือ :

  • โลโก้แบบ Hologram: ที่มีรูปคล้ายพระอาทิตย์แล้วปั๊มนูนด้วยสีทอง จะมีลายน้ำบางๆคล้ายลายนิ้วมืออยู่บนโลโก้
  • QR Code: เมื่อสแกนดูแล้วสามารถเข้าสู่หน้าเว็บไซต์เพื่อเช็ครายละเอียดของเพชรตามใบเซอร์ได้
  • สัญลักษณ์แม่กุญแจ: ที่พิมพ์ด้วยหมึกชนิดพิเศษ เมื่อใช้ยางลบลบ สัญลักษณ์จะกลายเป็นสีขาวแล้วกลับมาเป็นสีเทาเสมอ

ทั้งนี้สถาบัน GIA ได้ประกาศเปลื่ยนใบรับรอง(Certificate) จากกระดาษเป็น ดิจิตอลเต็มรูปแบบที่เน้น ความปลอดภัย สะดวกต่อการเข้าถึงและตรวจสอบพร้อมความยั่งยืนเป็นมิตรต่อโลก โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา สำหรับเพชรไซส์หนึ่งกะรัตขึ้นไปยังคงได้ใบรับรอง(Certificate)แบบกระดาษเช่นเดิม

หากคุณสนใจที่จะซื้อเพชรแต่ยังกังวลว่าจะได้เพชรแท้หรือไม่ และต้องเลือกเพชรอย่างไรให้สวย ทางอนันทามีบริการเพชรพรีเมี่ยมอนันทา (Ananta Premium Diamonds) ที่จะคัดสรรเพชรด้วยหลักเกณฑ์เข้มงวด 6 ข้อโดยผู้เชี่ยวซาญ เพื่อมอบเพชรที่มีระดับความสวยสูงสุดในแต่ละ Clarity Grade สู่ลูกค้า และอีกหนึ่งบริการจากอนันทาคือบริการค้นหาเพชร Pre-order กว่าแสนเม็ดทั่วทุกมุมโลก ที่คุณสามารถจะกำหนดสเปคของเพชรในฝัน รวมถึงงบประมาณได้ด้วยตัวคุณเอง

สอบถามเพิ่มเติม หรือสั่งซื้อผ่านทางแชทได้ตั้งแต่เวลา 10.30-24.00น.

RELATED stories